วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25 - ปัจจุบัน
ประติมากรรมไทย ( Thai Sculpture )
วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550
งานประติมากรรมไทย
ลักษณะงานประติมากรรมไทย แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1. งานประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นรูปทรงลอยตัว (Sculpture in the round) งานสร้างสรรค์รูปทรงในลักษณะ เช่น เป็นการสร้างทำรูปภาพให้เกิดขึ้นจากส่วนฐานซึ่งรองรับอยู่ทางตอนล่างรูปทรงของงานประติมากรรม อาจแสดงรูปแบบที่แลดูได้ทุกด้าน หรือแสดงทิศทางและการเฉลี่ยน้ำหนักลงสู่ฐานงานประติมากรรมไทยที่มีลักษณะเป็นรูปทรงลอยตัวนี้ ตัวอย่าง พระพุทธรูปเทวรูปต่าง ๆ เช่น รูปพระนารายณ์ทรงปืน ที่หน้าพระที่นั่งพุทธไธยสวรรค์ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ และรูปนางธรณีบีบมวยผม หน้ากระทรวงยุติธรรม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
2. งานประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นรูปทรงแบบราบมีพื้นรองรับ (Sculpture in the relief) งานสร้างสรรค์รูปทรงประติมากรรมเช่นนี้ เป็นการสร้างและนำเสนอ รูปทรงแต่จำเพาะด้านใดด้านหนึ่งให้ปรากฏแก่ตา โดยลำดับรูปทรงต่าง ๆ ลงบนพื้นราบซึ่งรองรับ อยู่ทางด้านหลังแห่งรูปทรงทั้งปวงการเคลื่อนไหวและทิศทางของรูปภาพอาจกระทำได้ในทางราบขนานไปกับพื้นผิวระนาบของพื้นหลังงานประติมากรรมในลักษณะนี้ แสดงรูปทรงและเนื้อหาให้ ปรากฏเห็นได้จำเพาะแต่เพียงด้านเดียว ตัวอย่างเช่น รูปภาพปั้นปูนเรื่องเรื่องทศชาติชาดกที่วัดไล อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ลวดลายไม้บานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
3. งานประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นรูปทรงจมอยู่ในพื้น (Sculpture in the mcise) งานประติมากรรมลักษณะเช่นที่ว่าเป็นผลอันเกิดแต่การสร้างสรรค์รูปทรงต่าง ๆ ให้ปรากฏและมีอยู่ในพื้นที่รองรับอยู่นั้น งานประติมากรรมจึงมีลักษณะเป็นทั้งรูปภาพที่เกิดขึ้นด้วยเส้นขีดเป็นทางลึกลงในพื้น (Incise Line) อย่างหนึ่ง กับรูปภาพซึ่งเกิดขึ้นโดยการเจาะหรือฉลุส่วนที่เป็นพื้นออก (Craving) ให้คาไว้แต่ส่วนที่เป็นรูปภาพงานประติมากรรมลักษณะดังกล่าว เป็นการนำเสนอรูปแบบและเนื้อหาให้ปรากฏและแลเห็นได้จำเพาะแต่ด้านเดียว เช่นเดียวกับงานประติมากรรมลักษณะที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2 ตัวอย่างเช่น ภาพลายเส้นในรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นตัวอย่างงานประติมากรรมที่สร้างทำด้วยวิธีขีดเส้นเป็นทางลึกลงไปในพื้นรูปภาพหนังใหญ่ สลักเป็นตัวละครในเรื่อง รามเกียรติ์ นี้เป็นตัวอย่างทำงานประติมากรรมที่มีรูปทรงจมอยู่ในพื้น โดยการฉลุหรือเจาะส่วนพื้นออกทิ้ง เหลือไว้แต่ส่วนที่เป็นรูปภาพ อนึ่งงานประติมากรรมไทย นอกเสียจากลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าว ในแต่ละข้อข้างต้นนี้แล้ว ยังมีงานสร้างสรรค์รูปทรงที่ว่าเป็นงานประติมากรรมได้อีกลักษณะหนึ่ง คืองานประติมากรรมลักษณะที่เป็นสิ่งห้อยหรือแขวน (Mobile)เช่นรูปพวงปลาตะเพียนสานด้วยใบลานทำเป็นเครื่องห้อยรูปพวงกระจับทำด้วยเศษผ้าใช้แขวนรูปพวงกลางทำร้อยด้วยดอกไม้สดใช้แขวนต่างเครื่องประดับเป็นต้น
อ้างอิงhttp://www.samsenwit.ac.th/e-book/social/pongsri/p04/Patimakum(Meanning).htm
วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550
ดอกปีบ
ชื่อเล่น : ต้น
วันเกิด : 6 พฤษภาคม 2523
อายุ : 27 ปี
ภูมิลำเนา : ราชบุรี
ที่อยู่ : 146 ม.4 ต.ท่านัด อ.ดำเนินสะดวก จ. ราชบุรี
ที่ทำงาน : โรงพยาบาลดำเนินสะดวก
การศึกษา :ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ระดับต้น จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
: กำลังศึกษาต่อที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง)
สีที่ชอบ : ฟ้า , ชมพู , ม่วง
คติประจำใจ : อดีตคือเครื่องเตือนใจ ปัจจุบันคือสิ่งที่เป็น อนาคตคือสิ่งที่หวัง
ดอกปีบ เป็นไม้ยืนต้นที่ให้ความร่มรื่นแก่ชีวิต ซึ่งหมายถึงคณะพยาบาล
ดอกปีบ เป็นยาอายุวัฒนาเปรียบเหมือนพยาบาลผู้ให้การดูแลและส่งเสริมสุขภาพแก่ปวงชน
ดอกปีบ เป็นไม้ขึ้นเร็ว ทนต่อทุกสภาพภูมิประเทศ สามารถสร้างเสริมธรรมชาติที่ชุบและดำรงชีวิตแก่มวลมนุษย์ชาติตลอดกาล เช่นเดียวกับพยาบาลที่จะเป็นผู้บริการสุขภาพที่จำเป็นต่อสังคมตลอดไป
อ้างอิงจาก http://www.nur.psu.ac.th
ดอกปีบสัญลักษณ์พยาบาลไทย : สภาการพยาบาลได้กำหนดให้ใช้ " ดอกปีบ " เป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ . 2534 เป็นต้นมา เนื่องจาก " ดอกปีบ " เป็นดอกไม้สีขาวที่มีกลิ่นหอม ต้นปีบเป็นไม้ยืนต้น ขึ้นได้ในที่ดินแห้งแล้ง ราก ลำต้น และดอกใช้เป็นสมุนไพรได้ เปรียบกับพยาบาลในชุดสีขาวผู้พร้อมที่จะประกอบคุณงามความดี ประดุจกลิ่นหอมของดอกปีบ และพร้อมที่สร้างประโยชน์เช่นเดียวกับการเป็นสมุนไพรของ " ดอกปีบ " นั่นเอง
อ้างอิงจาก http://www.tnc.or.th
อ้างอิงจากhttp://www.thaidances.com
มีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างไร : ในแง่ของสุนทรียศาสตร์นั้นให้มองตัวของเราว่ามี 2 ด้านคือเหตุผลกับความรู้สึก ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้มีความสำคัญเท่าๆกันแต่ขึ้นอยู่กับบุคคล กาละและเทศะ ถ้ามนุษย์เรานั้นใช้ทั้ง 2 อย่างอย่างถูกต้องก็จะทำให้มนุษย์ดำรงอยู่ในความสุขและบุคคลรอบข้างก็เป็นสุข
สุนทรียศาสตร์มีความสำคัญต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร : เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าวิชาชีพพยาบาลนั้นต้องใช้ทั้งศาสตร์(เหตุผล)คือการศึกษาหาความรู้จากตำรา จากอาจารย์เพื่อนำไปใช้ในการให้การพยาบาลและศิลป์(ความรู้สึก)คือความเอื้ออาทร ความอ่อนโยน ความนุ่มนวลที่ปฏิบัติแก่ผู้มารับบริการ
ซี่งเมื่อพยาบาลได้มีการศึกษาวิชาสุนทรียศาสตร์ยิ่งทำให้พยาบาลสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาประยุกต์ใช้ ซึ่งจะทำให้พยาบาลมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น