ศิลปะรัตนโกสินทร์ในตอนต้น เป็นการสืบทอดมาจากสกุลช่างอยุธยา ไม่ว่าจะเป็น การเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ เครื่อง เงิน เครื่องทอง การสร้างพระพุทธรูป ล้วนแต่สืบทอดความงามและวิธีการ ของศิลปะอยุธยาทั้งสิ้น ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการติดต่อกับชาวต่างชาติ มากขึ้นโดยเฉพาะชาติตะวันตก ทำให้ลักษณะศิลปะตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ ประเทศไทย และมีอิทธิพลต่อศิลปะไทยในสมัยต่อมา หลังจากการเสด็จประ พาสยุโรปทั้ง 2 ครั้งของ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีการนำเอาแบบอย่าง ของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย ทำให้ศิลปะไทยแบบ ประเพณี ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นศิลปะไทย แบบร่วมสมัย ในที่สุด ลักษณะของพระพุทธรูปเน้นความเหมือนจริงมากขึ้น เช่น พระศรีศากยทศพลญาณ ฯ พระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นพระพุทธรูปปางลีลาโดยการผสมผสานความงามแบบสุโขทัยเข้ากับความ เหมือนจริง เกิดเป็นศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์
วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ประติมากรรมไทย ( Thai Sculpture )
หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี การปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของ ไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์ กระดูก ฯลฯ ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำ และนูนสูงมักทำ เป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะ สลักประดับตามอาคารบ้านเรือนโบสถ์ วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจาก นี้ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย สำหรับ งานประติมากรรมแบบลอยตัว มักทำเป็นพระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพ ต่าง ๆ ตุ๊กตา ภาชนะดินเผา ตลอดจนถึงเครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่น หรือแตกต่างกันไป ตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย โดยทั่วไปแล้วเรามักศึกษาลักษณะของสกุล ช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยจากลักษณะของ พระพุทธรูป เนื่องจาก เป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จัดสร้างอย่างปราณีตบรรจง ผู้สร้างมักเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญที่สุดใน ท้องถิ่นหรือยุคสมัยนั้น และเป็นประติมากรรมที่มีวิธีการจัดสร้างอย่าง ศักดิ์สิทธิ์เปี่ยมศรัทธา ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่าง ๆ สามารถลำดับได้ดังนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)